เชียงคาน จังหวัดเลย #ภาพมุมสูงเที่ยวทั่วไทย
ประวัติความเป็นมาเมืองเชียงคานเดิมตั้งอยู่ที่เมืองชะนะคาม ประเทศลาว ซึ่งสร้างโดยขุนคาน โอรสของขุนคัวแห่งอาณาจักรล้านช้าง เมื่อประมาณ พ.ศ. 1400ต่อมาประมาณ พ.ศ. 2250อาณาจักรล้านช้างแยกออกเป็นสองอาณาจักรคือ อาณาจักรหลวงพระบาง ซึ่งมีพระเจ้ากีสราชเป็นกษัตริย์ และอาณาจักรเวียงจันทน์ ซึ่งมีพระเจ้าไชยองค์เว้เป็นกษัตริย์ โดยกำหนดอาณาเขตให้ดินแดนเหนือแม่น้ำเหืองขึ้นไปเป็นอาณาเขตหลวงพระบาง และใต้แม่น้ำเหืองลงมาเป็นอาณาเขตเวียงจันทน์ ต่อมาทางหลวงพระบางได้สร้างเมืองปากเหืองซึ่งอยู่ฝั่งขวาของแม่น้ำโขงเป็นเมืองหน้าด่านและทางเวียงจันทน์ได้ตั้งเมืองเชียงคาน
เดิมเป็นเมืองหน้าด่านเช่นกัน ต่อมา พ.ศ. 2320พระเจ้ากรุงธนบุรี โปรดให้เจ้าพระยามหากษัตริย์ศึกกับพระสุรสีห์ ยกทัพไปตีกรุงเวียงจันทน์ ตีเวียงจันทน์ได้จึงได้อันเชิญพระแก้วมรกต กลับมายังกรุงธนบุรี แล้วได้รวมอาณาจักรล้านช้างเข้าด้วยกันและให้เป็นประเทศราชของไทย และได้กวาดต้อนผู้คนพลเมืองมาอยู่เมืองปากเหืองมากขึ้น แล้วโปรดเกล้าฯ ให้เมืองปากเหืองไปขึ้นกับเมืองพิชัย ต่อมาในสมัยรัชกาลที่ 3เจ้าอนุวงศ์ เจ้าเมืองเวียงจันทน์ คิดกอบกู้เอกราชเพื่อแยกเป็นอิสระจากไทยโดยยกกำลังจากเวียงจันทน์มายึดเมืองนครราชสีมา แต่ในที่สุดเจ้าอนุวงค์ถูกจับขังจนสิ้นชีวิต กองทัพไทยที่ยกมาปราบเจ้าอนุวงศ์ที่นครราชสีมาได้ยกทัพไปกวาดต้อนผู้คนจากฝั่งซ้ายของลำน้ำโขงมายังเมืองปากเหืองมากขึ้น และโปรดเกล้าฯ ให้พระอนุพินาศ (กิ่ง ต้นสกุลเครือทองศรี) เป็นเจ้าเมืองปากเหืองคนแรก แล้วพระราชทานชื่อเมืองใหม่ว่า เมืองเชียงคาน ครั้งถึงรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พวกจีนฮ่อได้ยกทัพมาตีเมืองเวียงจันทน์ เมืองหลวงพระบางและได้เข้าปล้นสะดมเมืองเชียงคานเดิมที่อยู่ทางฝั่งซ้ายของแม่น้ำโขง ชาวเชียงคานเดิมจึงอพยพผู้คนไปอยู่เมืองเชียงคานใหม่ (เมืองปากเหือง) เป็นจำนวนมาก
ครั้งต่อมา เห็นว่าชัยภูมิเมืองเชียงคานใหม่ (เมืองปากเหือง) ไม่เหมาะสม ผู้คนส่วนใหญ่จึงอพยพไปอยู่ที่บ้านท่านาจันทร์ซึ่งใกล้กับที่ตั้งของอำเภอเชียงคานปัจจุบัน แล้วตั้งชื่อใหม่ว่า เมืองใหม่เชียงคาน ต่อมาไทยได้เสียดินแดนฝั่งซ้ายแม่น้ำโขงให้กับฝรั่งเศส ทำให้เมืองปากเหืองตกเป็นของฝรั่งเศส คนไทยที่อยู่เมืองปากเหืองจึงอพยพมาอยู่เมืองใหม่เชียงคานหรืออำเภอเชียงคานปัจจุบันโดยสิ้นเชิง แล้วได้เปลี่ยนชื่อเมืองเป็นเมืองเชียงคานใหม่ ได้ตั้งที่ทำการอยู่บริเวณวัดธาตุ เรียกว่าศาลาเมืองเชียงคาน ต่อมาได้ย้ายไปอยู่บริเวณวัดโพนชัย จนกระทั่งปี พ.ศ. 2452เมืองเชียงคานซึ่งมีพระยาศรีอรรคฮาด (ทองดี ศรีประเสริฐ) ได้รับตำแหน่งนายอำเภอเชียงคานคนแรก ต่อมาปี 2484ได้ย้ายที่ว่าการอำเภอเชียงคานมาอยู่ ณ ที่อยู่ปัจจุบันตราบเท่าทุกวันนี้
เมืองเชียงคานเดิมอยู่ฝั่งซ้ายของแม่น้ำโขง ต่อมาได้มีการอพยพข้ามมาอยู่บริเวณบ้านท่านาจันทร์ และตั้งชื่อว่าเมืองเชียงคาน โดยขึ้นกับเมืองพิชัย ประมาณรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชการที่ ๓ ต่อมาเมื่อสยามเสียแผ่นดินแดนฝั่งซ้ายในปี พ.ศ.๒๔๓๖ และปี พ.ศ.๒๔๔๗ เสียดินแดนฝั่งขวาให้แก่ฝรั่งเศส ทำให้ผู้คนอพยพข้ามมาอยู่มากขึ้น ขณะนั้นปกครองโดยพระยาศรีอรรคฮาต เจ้าเมืองคนที่ ๔ เมื่อมีการจัดระเบียบการปกครองเป็นเทศาภิบาลได้โอนเมืองเชียงคานมาขึ้นกับเมืองเลยแอเจียน แอมมอนิแย ได้บรรยายเมืองเชียงคาน เมื่อ ๒๐ กุมภาพันธ์ พ.ศ.๒๔๒๖ ว่า”…เมืองเชียงคาน หรือ เชียงคาน(MoeuongSien Khan ouSien Khan)ตั้งอยู่เส้นรุ้งที่ ๑๗ องศา ๕๔ ลิปดา ฟิลิปดาเหนือ(ตาม ฟรองซิสการ์นิเย่)มีกระท่อมประมาณ ๓๐๐ หลัง เรียงรายอยู่ใต้ร่มต้นไม้ผล ยาวเหยียดไปตามริมฝั่งของแม่น้ำ เป็นที่ราบสูง น้ำท่วมไม่ถึง มีวัด ๘ วัด แต่ละวัดมีพระภิกษุ ๖ ถึง ๘ รูป บางครั้งเรียกเมืองใหม่เพราะเมืองดังกล่าวเพิ่งสร้านขึ้นแทนเมืองเก่า ซึ่งตั้งอยู่ริมฝั่งซ้าย…”
ลักษณะภูมิอากาศแบ่งออกเป็น 3ฤดู คือ ฤดูร้อน เริ่มตั้งแต่เดือน มีนาคม ฤดูฝน เริ่มตั้งแต่เดือน มิถุนายน และฤดูหนาว เริ่มตั้งแต่เดือน ตุลาคม